วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
นครเปตรา
นครเปตรา
นครเปตรา (πέτρα) คือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดีมูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเดดซีกับทะเลอัคบาในประเทศจอร์แดน นครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812)
นครเปตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ" (One of the most precious cultural properties of man's cultural heritage) ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นครเปตราได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
ประวัติ
ก่อตั้งและเจริญรุ่งเรือง
ชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เปตราคือพวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเปตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน (Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ คนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง พวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวกนาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น
สาเหตุที่เปตราตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้ง มีแต่หินกับทรายนั้นก็น่าจะเพราะเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรีย นอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้งใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตราอย่างเดียว
เปตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเปตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซีย
เปตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เปตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส (Philodemos) ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั้งคั้ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันจากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากพายนอก
ชาวเปตรานับถือเทพเจ้าสององค์คือ เทพดูซาเรส (Dushares) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพอัลอัซซา (Al Uzza) ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ
การล่มสลาย
ด้วยเหตุที่เกิดเมืองใหม่และเส้นทางค้าขายใหม่ที่ปลอดภัยและสะดวกกว่าในช่วงเวลต่อมา เปตราที่เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าก็เริ่มสูญเสียอำนาจลง เมืองอ่อนแอและถูกต่างชาติโจมตีเข้าได้ง่าย จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 649 (ค.ศ. 106) พวกโรมันนำโดยจักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส(Traianus) ได้เข้ายึดครองเปตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นจังหวัดในจักรวรรดิโรมัน แต่เปตราก็ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวปี ค.ศ. 300 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มคลอนแคลน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 906 (ค.ศ. 363) แผ่นดินไหวก็ได้ทำลายอาคารและระบบชลประทานที่ถือว่าดีมากของเมืองลง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 เปตรากลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนามณฑลของบิชอป แล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อยๆ จนลบเลือนหายไปจากผู้คน
การค้นพบ
ถึงแม้ซากเมืองเปตราจะเป็นสิ่งที่น่าอยากรู้อยากเห็นของผู้คนในช่วงยุคกลาง เช่น มีสุลต่านของอียิปต์ ไบบารส์ (Sultan Baibars) เดินทางเข้าไปเยี่ยมชนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่การค้นพบเปตราที่นำไปสู่การเปิดเผยต่อสายตาชาวโลกเกิดขึ้นอย่างเงียบๆ เมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) เมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท (Johann Ludwig Burckhardt) ซึ่งกำลังเดินทางจากจอร์แดนไปอียิปต์เพื่อไปศึกษาถึงแหล่งที่เป็นต้นกำเนินของแม่น้ำไนล์ บวร์กฮาร์ทได้เห็นด้านหน้าอันใหญ่โตของเปตรา แต่ผู้นำทางท้องถิ่นสั่งห้ามมิให้เขาลงไปทำอะไรที่นั่น บวร์กฮาร์ทจึงแอบบันทึกย่อไว้ขณะที่อูฐเดินผ่าน ถึงแม้จะเป็นเพียงบันทึกเล็กๆ คร่าวๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการที่เปิดเมืองสู่สายตาชาวโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เลออง เดอ ลาบอร์ด (Leon de Laborde) ชาวฝรั่งเศสที่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจเมืองและเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า "Voyage de I' Arabir Petree" แปลว่า "การเดินทางในเปตราแห่งอาหรับ" (ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2373) ซึ่งการเขียนหนังสือครั้งนี้ถือเป็นการนำภาพและความรู้ต่างๆที่ชาวโลกไม่เคยเห็นมาเปิดเผยให้ได้รับรู้
การสำรวจทางโบราณคดีเริ่มขึ้นในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการสำรวจอยู่
มรดกโลก
เปตราได้รับลงทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 9 เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
• เป็นตัวแทนที่แสดงถึงผลงานชิ้นเอกทีได้ถูกจัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันแสนฉลาด
• เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
• เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
การประยุกต์ใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติของกระทรวงคมนาคม
บทสรุป
สรุปคือ กระทรวงคมนาคมได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติ ประกอด้วยคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ระบบจัดการเอกสารได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , การใช้เครื่องโทรสาร, การใช้โทรศัพท์ ตลอดจนการใช้เครื่องถ่ายเอกสารในการทำสำเนาเอกสารหลายชุด ระบบจัดการด้านข่าวสาร การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร ระบบเครือข่ายแลน ตลอดจนระบบอินเตอร์เน็ต อินตราเน็ต (Intranet) เอ็กซตราเน็ต (Extranet) และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารประชาสัมพันธ์ ระบบประชุมทางไกล วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ และสุดท้ายระบบสนับสนุนสำนักงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบระบบ GFMIS ระบบสแกนลายนิ้วมือ ระบบคีย์การ์ด ประตูไฟฟ้า กลอนประตูไฟฟ้า การทำ 5 ส. การบริหารจัดสรรเวลา มาใช้เพื่อเพิ่มการจัดการการทำงานขององค์กร
สรุปคือ กระทรวงคมนาคมได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติ ประกอด้วยคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ระบบจัดการเอกสารได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , การใช้เครื่องโทรสาร, การใช้โทรศัพท์ ตลอดจนการใช้เครื่องถ่ายเอกสารในการทำสำเนาเอกสารหลายชุด ระบบจัดการด้านข่าวสาร การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร ระบบเครือข่ายแลน ตลอดจนระบบอินเตอร์เน็ต อินตราเน็ต (Intranet) เอ็กซตราเน็ต (Extranet) และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารประชาสัมพันธ์ ระบบประชุมทางไกล วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ และสุดท้ายระบบสนับสนุนสำนักงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบระบบ GFMIS ระบบสแกนลายนิ้วมือ ระบบคีย์การ์ด ประตูไฟฟ้า กลอนประตูไฟฟ้า การทำ 5 ส. การบริหารจัดสรรเวลา มาใช้เพื่อเพิ่มการจัดการการทำงานขององค์กร
เทคโนโลยีทางการแพทย์
บทสรุป
เทคโนโลยีทางการแพทย์
เทคโนโลยีทางการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาพยาบาลและเพื่อการป้องกันโรค
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทสำคัญในหลายๆงานไม่เว้นแม้แต่วงการแพทย์ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์ผู้ทำการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาผู้ป่วยรวมถึงการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีทางการแพทย์ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีความสามารถทางการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นที่จะนำมาใช้ประโยชน์อันหลากหลาย เครื่องมือการแพทย์ในปัจจุบันหลายอย่าง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำหรับใช้ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องเหล่านั้น เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และเครื่องปฏิบัติการทดลองต่างๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น
ตัวอย่างโครงการด้านการวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์
ระบบการแพทย์อัจฉริยะ (Intelligent Medical System) คือ เครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งอุปกรณ์ ส่วนประกอบ ส่วนควบหรือชิ้นส่วนของเครื่องใช้ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวมีความสามารถในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น มีความแม่นยำสูง สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานและตอบสนองต่อผู้ใช้ (ทั้งแพทย์หรือผู้ป่วย) ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน รวมทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนระบบการบริหารจัดการและการดูแลของแพทย์ เป็นการสร้างภาพจำลอง 3 มิติ ขึ้นสำหรับการวินิจฉัยและประกอบการรักษเพื่อช่วยวางแผนการรักษาจากเครื่องถ่ายภาพทางรังสีชนิดต่างๆ เช่น CT scan, MRI, SPETหรือ PET
ตัวอย่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในปัจจุบัน
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography or CT. Scan) คือ เครื่องตรวจร่างกายที่เป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบสามมิติที่สามารถถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้ทั่วร่างกาย
M.R.I. (Magnetic Resonance Imagine) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์
โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (Positron Emission Tomography หรือ P.E.T.)
ใช้โพซิตรอนซึ่งมีลักษณะคล้ายอิเล็กตรอน แต่มีประจุไฟฟ้าบวก เป็นต้นกำเนิดพลังงานแทนรังสีเอกซ์ผลที่ได้ก็คล้ายคลึงกันกับที่ได้จากเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
ทรานส์แอกเซียลซิงเกิลโฟตอนอีมิสชันคอมพิวต์โทโมกราฟี (Transsexual Single Photon Emission Computed Tomography หรือS.P.E.C.T.) เครื่องนี้มีกล้องถ่ายแกมมาที่หมุนได้รอบตัวคนไข้ เราให้ไอโซโทปแก่คนไข้ แล้วใช้กล้องถ่ายแกมมาหมุนรอบตัวคนไข้เพื่อวัดรังสีแกมมาที่ผ่านตัวออกมา แล้วนำข้อมูลที่ได้นี้ไปคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์
แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์
ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีของโลกกำลังดำเนินเข้าสู่ยุคดิจิตอลที่ทุกสิ่งถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ข่าวสาร การทำงานและแม้กระทั่งโรงพยาบาล เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมก็จะเป็นเทคโนโลยีหลักของด้านการแพทย์ เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูงผ่านระบบเครือข่ายไร้สายจะกลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ทางการแพทย์ ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บในรูปแบบดิจิตอล ระบบโทรเวชจะมีบทบาทและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะเครื่องมืออำนวยความสะดวกทางการแพทย์ ระบบการแพทย์อัจฉริยะจะถูกพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อรองรับกับโรงพยาบาลดิจิตอลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะระบบ AI (Artificial Intelligence) จะมีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลดิจิตอล โดยเฉพาะระบบรู้จำเสียงพูดและระบบการจำแนกตัวอักษรซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่แพทย์และพยาบาลในการเขียนรายงานการตรวจร่างกายผู้ป่วยลงในเวชระเบียน ระบบการสร้างภาพสามมิติจะถูกพัฒนาให้สมจริงและสามารถเห็นได้แบบเวลาจริง บนจอภาพขนาดเล็ก โดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์แทนการใช้รังสีเอ็กซ์เรย์ เนื่องจากใช้งานได้ง่ายกว่าและไม่ต้องมีการป้องกันรังสีที่เกิดขึ้น เป็นต้น
เทคโนโลยีทางการแพทย์
เทคโนโลยีทางการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาพยาบาลและเพื่อการป้องกันโรค
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทสำคัญในหลายๆงานไม่เว้นแม้แต่วงการแพทย์ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์ผู้ทำการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาผู้ป่วยรวมถึงการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีทางการแพทย์ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีความสามารถทางการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นที่จะนำมาใช้ประโยชน์อันหลากหลาย เครื่องมือการแพทย์ในปัจจุบันหลายอย่าง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำหรับใช้ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องเหล่านั้น เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และเครื่องปฏิบัติการทดลองต่างๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น
ตัวอย่างโครงการด้านการวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์
ระบบการแพทย์อัจฉริยะ (Intelligent Medical System) คือ เครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งอุปกรณ์ ส่วนประกอบ ส่วนควบหรือชิ้นส่วนของเครื่องใช้ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวมีความสามารถในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น มีความแม่นยำสูง สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานและตอบสนองต่อผู้ใช้ (ทั้งแพทย์หรือผู้ป่วย) ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน รวมทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนระบบการบริหารจัดการและการดูแลของแพทย์ เป็นการสร้างภาพจำลอง 3 มิติ ขึ้นสำหรับการวินิจฉัยและประกอบการรักษเพื่อช่วยวางแผนการรักษาจากเครื่องถ่ายภาพทางรังสีชนิดต่างๆ เช่น CT scan, MRI, SPETหรือ PET
ตัวอย่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในปัจจุบัน
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography or CT. Scan) คือ เครื่องตรวจร่างกายที่เป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบสามมิติที่สามารถถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้ทั่วร่างกาย
M.R.I. (Magnetic Resonance Imagine) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์
โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (Positron Emission Tomography หรือ P.E.T.)
ใช้โพซิตรอนซึ่งมีลักษณะคล้ายอิเล็กตรอน แต่มีประจุไฟฟ้าบวก เป็นต้นกำเนิดพลังงานแทนรังสีเอกซ์ผลที่ได้ก็คล้ายคลึงกันกับที่ได้จากเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
ทรานส์แอกเซียลซิงเกิลโฟตอนอีมิสชันคอมพิวต์โทโมกราฟี (Transsexual Single Photon Emission Computed Tomography หรือS.P.E.C.T.) เครื่องนี้มีกล้องถ่ายแกมมาที่หมุนได้รอบตัวคนไข้ เราให้ไอโซโทปแก่คนไข้ แล้วใช้กล้องถ่ายแกมมาหมุนรอบตัวคนไข้เพื่อวัดรังสีแกมมาที่ผ่านตัวออกมา แล้วนำข้อมูลที่ได้นี้ไปคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์
แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์
ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีของโลกกำลังดำเนินเข้าสู่ยุคดิจิตอลที่ทุกสิ่งถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ข่าวสาร การทำงานและแม้กระทั่งโรงพยาบาล เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมก็จะเป็นเทคโนโลยีหลักของด้านการแพทย์ เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูงผ่านระบบเครือข่ายไร้สายจะกลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ทางการแพทย์ ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บในรูปแบบดิจิตอล ระบบโทรเวชจะมีบทบาทและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะเครื่องมืออำนวยความสะดวกทางการแพทย์ ระบบการแพทย์อัจฉริยะจะถูกพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อรองรับกับโรงพยาบาลดิจิตอลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะระบบ AI (Artificial Intelligence) จะมีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลดิจิตอล โดยเฉพาะระบบรู้จำเสียงพูดและระบบการจำแนกตัวอักษรซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่แพทย์และพยาบาลในการเขียนรายงานการตรวจร่างกายผู้ป่วยลงในเวชระเบียน ระบบการสร้างภาพสามมิติจะถูกพัฒนาให้สมจริงและสามารถเห็นได้แบบเวลาจริง บนจอภาพขนาดเล็ก โดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์แทนการใช้รังสีเอ็กซ์เรย์ เนื่องจากใช้งานได้ง่ายกว่าและไม่ต้องมีการป้องกันรังสีที่เกิดขึ้น เป็นต้น
วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552
บทที่2 การบริหารสำนักงานอัตโนมัติ
บทที่2 การบริหารสำนักงานอัตโนมัติ
ในปัจจุบันทุกคนไม่สามารถปฏิเสธการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีได้ เราใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการปฏิบัติงานและภารกิจต่างๆ ไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในและนอกสำนักงาน ทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน โดยหลักการมีแนวคิดเพื่อสนองตอบการแข่งขันที่ไร้ขอบเขต ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดินของข้อมูลในรูปแบบใหม่ซึ่งต้องสะดวก รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการของใช้ผู้ใช้ได้อย่างน่าพึงพอใจ
ความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมีชุดคำสั่งระบบ(Software) สั่งการในการทำงานซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานของระบบสำนักงานอัตโนมัติ
Internal Memory เป็นหน่วยความจำทำหน้าที่รับและเก็บข้อมูล จะแบ่งเป็นห้องเล็กๆมากมายเรียกว่า Storage ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ
ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
1. ตัวเครื่อง (Hardware) ได้แก่อุปกรณ์ต่างๆ
1.1 หน่วยรับข้อมูล ได้แก่ เมาส์ คีย์บอร์ด จอสัมผัส
1.2 หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU
1.3 หน่วยแสดงผล ได้แก่ จอมอนิเตอร์ Printer
2. คำสั่งเครื่อง (Software)
2.1 คำสั่งระบบ (System Software)
- โปรแกรมควบคุมระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการ (OS)
- โปรแกรมสนับสนุนระบบ เช่น บริการอรรถประโยชน์ (Utilities)
- โปรแกรมพัฒนาระบบงาน เช่น โปรแกรมแปลภาษา
2.2 คำสั่งประยุกต์ (Application Software) โปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้งานต่างๆ เช่น ด้านการคำนวณ การประมวลผล การจัดพิมพ์ ฐานข้อมูล กราฟฟิค เป็นต้น
3. คน (People ware) เช่น ผู้ใช้ (User) ผู้เขียนโปรแกรม (Programmer)
ประเภทของคอมพิวเตอร์
1. แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
1.1 ใช้งานทั่วไป เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)
1.2 ใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรมรถยนต์
2. แบ่งตามลักษณะข้อมูล
2.1 Analog ใช้สำหรับข้อมูลหรือเงื่อนไขที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความกดดันอากาศ กระแสไฟฟ้า เป็นต้น
2.2 Digital ใช้จำนวนหรือตัวเลขในการแปลงรหัสสัญญาณแล้วแปลงผลออกมาในรูปตัวเลขและตัวอักษร
2.3 Hybrid เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีของ Analog และ Digital สามารถทำงานได้ทั้งรูปแบบการวัดค่าต่อเนื่ององและการคำนวณประมวลผล
3. แบ่งตามขนาด
3.1 ขนาดใหญ่ ได้แก่ Mainframe
3.2 ขนาดกลาง ได้แก่ Minicomputer Laptop (Notebook)
3.3 ขนาดเล็ก ได้แก่ Microcomputer (PC)
เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วยรูปแบบพื้นฐาน ได้แก่
1. VDT (Video Display Terminal) เป็นที่ซึ่งข้อมูลและโปรแกรมจะถูกป้อนข้อมูลเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์รวมทั้งคีย์บอร์ด อุปกรณ์การป้อนเข้าที่สำคัญ
2. Magnetic Tape มีลักษณะเป็นม้วนเทปแม่เหล็กจะเก็บข้อมูลเป็นจุดแม่เหล็ก ส่งไป Internal Memory ภายในคอมพิวเตอร์
3. Magnetic Disks จะมีที่พักเก็บทั้งสองด้าน ข้อมูลถูกบันทึกในDiskด้วยรูปแบบจุดแถบแม่เหล็ก
4. Scanning เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ใช้อ่านข้อมูลแล้วส่งผ่านเข้าคอมพิวเตอร์
4.1 Bar Code Reader เครื่องScannerจะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ซึ่งบรรจุชื่อสินค้าและราคา นอกจากนี้ยังใช้อ่านแฟ้มในสถานพยาบาลและสำนักงานทนายความด้วย
4.2 OCR (Optical Character Reader/Recognition) จะผ่านวัตถุดิบแล้วแปลงเป็นคำสั่งผ่านเข้าคอมพิวเตอร์ สามารถรับวัตถุดิบได้หลายรูปแบบ เช่น รูปภาพ แบบฟอร์ม อักษรการพิมพ์
5. คำพูด (Speech) เสียงมนุษย์ใช้เป็น Input โดยอาจต้องจำกัดศัพท์ วลีสั้นๆ และความต่อเนื่องของคำ
6. รูปและภาพ (Graphic & Image) โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนรอบจอหรือใช้เขียนหรือใช้สัมผัสในบริเวณกำหนด เช่น เมาส์ ปากกา และจอสัมผัส
เทคโนโลยีส่วนกระบวนการ
1. หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราวทั้งก่อน ระหว่าง และหลังปฏิบัติในกระบวนการถือเป็นการเก็บขั้นแรก (Primary Storage) และเก็บอยู่ในตัวเครื่อง แบ่งเป็น
1.1 Read-Only Memory หรือ ROM เป็นการบันทึกถาวร ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและข้อมูลจะไม่ถูกทำลาย
1.2 Random-Access Memory หรือ RAM เป็นความจำชั่วคราว ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในRAMจะหายไปเพราะเป็นเพียงการทำงานบนที่ว่างในคอมพิวเตอร์
2. หน่วยคำนวณ (Arithmetic-Logic Unit) ใช้ในการคำนวณคณิตศาสตร์และตรรกวิทยา
3. หน่วยควบคุม (Control Unit) มีการควบคุมและสนับสนุนตามโปรแกรมที่กำหนด
เทคโนโลยีส่วนแสดงผล
1. VDT ข้อมูลที่ป้อนเข้ามาจะแสดงบนจอมอนิเตอร์
2. เครื่องพิมพ์ (printers) เป็นการจัดพิมพ์บนกระดาษ (Hard Copy)
2.1 Impact Printers สร้างงานโดยการพิมพ์ผ่านผ้าหมึกลงบนกระดาษลักษณะเช่นเดียวกับการพิมพ์ดีด
2.2 Non Impact Printers เป็นวิธีการเชื่อมของแสงเลเซอร์และเทคนิคการถ่ายเอกสารมีทั้งแบบที่นิยมคือ Laser Printer กับ Inkjet Printer
3. เสียง (Voice/Audio Response) สร้างเสียงสะท้อนจากข้อมูลที่ได้รับมาสู้ระบบการแสดงผลด้วยเสียงเช่นกัน
4. อุปกรณ์อื่น เช่น โมเด็ม ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับสายโทรศัพท์เคลื่อนย้ายข้อมูลผ่านสาย
เทคโนโลยีส่วนการเก็บ
1. Magnetic Tape ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อเก็บข้อมูลเรียงลำดับ
2. Magnetic Disk ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยใช้พื้นที่สะดวกกว่าประกอบด้วย
2.1 Floppy Disk เป็นแผ่น Disketteที่ยืดหยุ่นใช้กับMinicomputerมีต้นทุนต่ำ
2.2 Hard Disk ทำจากอลูมิเนียมที่ทนทาน ข้อมูลเก็บได้ในปริมาณที่มากกว่า และการค้นหาข้อมูลก็รวดเร็วกว่า
3. Optical Disk เป็นสื่อรุ่นใหม่ในการเก็บข้อมูลโดยติดต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านแสงเลเซอร์ ทนทานความร้อนและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ข้อมูลนำมาใช้ได้ดีและเร็วกว่า Magnetic Disk
3.1 Compact Disc Read-Only Memory (CD-ROM)
3.2 Database Management System (DBMS)
เทคโนโลยีส่วนควบคุม
การควบคุมสำคัญต่อระบบคอมฯ คือ การควบคุมทรัพยากร มนุษย์ (Human Control) เกี่ยวกับกฎระเบียบการปฏิบัติงาน และการควบคุมเทคโนโลยี (Technological Control) ซึ่งต้องมีการควบคุมระบบอย่างเหมาะสม โดยใช้สมองของคอมฯเป็นหน่วยควบคุมและต้องปฏิบัติการดังนี้
1. ควรมีคำแนะนำหรือคำสั่งที่เหมาะสม ในหน่วยควบคุม เช่น การตรวจสอบโปรแกรม เป็นต้น
2. ควรมีการควบคุมกันเองภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
3. ควรควบคุมให้มีการแสดงผลอย่างถูกต้องเหมาะสม กับเทคโนโลยี และอุปกรณ์ของการแสดงผลในรูปแบบต่างๆ เช่น การพิมพ์ การ Plotting COM เป็นต้น
สำนักงานอัตโนมัติ Office Automation: OA
ความหมายของสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักงานอัตโนมัติ หรือ OA เป็นกระบวนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) มา ประยุกต์ใช้ในสำนักงาน โดยการรวบรวม นำเครื่องมืออุปกรณ์อัตโนมัติและเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการติดต่อสื่อสารด้านอิเล็กทรอนิกส์ มาประกอบกันทำให้เกิดงานในสำนักงานกลายเป็นอัตโนมัติ
หน้าที่และระบบข้อมูลหลักใน OA
1. ลักษณะ หรือรูปแบบของข้อมูลที่เกิดขึ้นในสำนักงาน คือ ภาพ เสียง ตัวเลข อักษร ข้อมูล และคำพูด
2. แสดงถึงกิจกรรมวงจรข้อมูลพื้นฐาน
3. ระบบหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อกิจกรรมวงจรข้อมูล
4. ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า LAN (Local Area Network) ทำการเชื่อมต่อหน้าที่ของระบบทั้งสี่ระบบ
5. กิจกรรมหลัก และองค์ประกอบของระบบอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศของ OA
1. ระบบการจัดการด้านเอกสาร (Document Management System: DMS)
1.1 การประมวลผลคำ (Word Processing)เป็น โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับช่วยในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น โดยมีจุดเด่นคือสามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดเวลา โปรแกรมสำเร็จรูปประเภทประมวลคำมีหลายโปรแกรม ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เช่น CU-Writer เวิร์ดราชวิถี Word perfect Word Star และไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft word) เป็น ต้น โดยส่วนมากโปรแกรมประเภทนี้จะช่วยสร้างเอกสาร แก้ไข จัดรูปแบบ ขอบเขตของเอกสาร การบันทึกเอกสาร การคัดลอกหรือการย้ายข้อความเป็นบล็อก การค้นหาคำ การแทนที่คำ การตรวจสอบคำผิด และการทำจดหมายเวียน ไมโครซอฟต์เวิร์ด 97 ยังมีความสามารถพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การตรวจคำและไวยากรณ์ การนับคำ และความสามารถในการเรียกข้อความขึ้นมาดูก่อนสั่งพิมพ์
1.2 การประมวลภาพ (Image Processing) เป็นระบบที่มีการประมวลผลโดยอาศัยรูปภาพ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างยิ่ง โดยการอาศัยอุปกรณ์ในการสแกนภาพเข้าไปในคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) ต่อเชื่องกับเครื่อง คอมพิวเตอร์และเครื่องเลเซอร์ จากนั้นเข้าสู่โปรแกรมการสแกนภาพ ซึ่งโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ในการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ หากอุปกรณ์ใดไม่พร้อมโปรแกรมจะแสดงข้อเตือน ภาพที่ถ่ายเข้าไม่สามารถที่จะปรับแต่ง ย่อ ขยาย หรือใส่ข้อความประกอบเข้าไป เช่น โปรแกรม Aldus PageMaker ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ การประมวลภาพ มักนิยมใช้ร่วมกับระบบบริการต่าง ๆ โดยผ่านเครือข่าย เฉพาะที่
1.3 การจัดพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing)สำนักงานในปัจจุบันนิยมใช้มาก เนื่องจากสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องเฉพาะ เดสท์ทอป พับลิชชิ่งเป็นเทคโนโลยีพัฒนามาจากเวิร์ดโปรเซสซิ่ง โดยเป็นการผสมระหว่างซอฟต์แวร์ทางด้านเวิร์ดโปรเซสซิ่ง ที่มีความสลับซับซ้อนกับโปรแกรมด้านกราฟิก สามารถใช่แบบตัวอักษร (Font) ได้ หลายภาพ หลายแบบ การใช้สี ภาพที่ได้จากการสแกนเนอร์รวมทั้งการใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์ ความละเอียดสูง ทำให้เอกสารภาพที่ได้มีความคมชัดเจน ละเอียด โดยทั่วไปหน่วยงานที่นำโปรแกรมเดสท์ทอป พับลิชชิ่งมาใช้กับการทำรายงาน วารสาร แผ่นพับ และเอกสารต่าง ๆ โดยสามารถเพิ่มความเร็วในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคลากรที่ขาดแคลน โปรแกรมประเภทนี้ที่นิยมใช้ได้แก่ PageMaker Corel draw Microsoft Power Point เป็นต้น ในส่วนของฮาร์ดแวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ควรจะมีหน่วยความจำตั้งแต่ 16 เมกกะไบต์ (MB) ขึ้นไป และควรจะมีความละเอียดบนจอภาพตั้งแต่ 800 x 600 จุด ขนาดของจอภาพ (Monitor)ตั้งแต่ 14” ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวโปรแกรมและความละเอียดของภาพ ขนาดของจอภาพ เป็นต้น
1.4 การผลิตเอกสารหลายชุดหรือการทำสำเนา (Reprographics)เป็น กระบวนการทำสำเนาเอกสารต่าง ๆ การทำสำเนารายงานจดหมาย และเอกสารอื่น ๆ เพื่อที่จะสามารถแจกจ่ายเอกสารให้กับผู้เกี่ยวข้อได้รวดเร็ว ในสมัยนี้การพิมพ์สำเนาเอกสาร จำนวนมากนิยมใช้เครื่องระบบสำเนาอัจฉริยะ (Intelligent copier system) โดย เอาเครื่องนี้ต่อเขื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง หรือ ขนาดเล็ก และต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ วิธีการทำเอกสารจะถูกทำขึ้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์ และส่งมายังเครื่องอัดสำเนา ซึ่งเครื่องอัดสำเนาจะพิมพ์สำเนา ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
1.5 การเก็บรักษา (Archival Storage) เป็น การเก็บรักษาข้อมูลในหน่วยความจำสำรอง เช่น เทปแม่เหล็ก ไมโครฟิลม์ (Microfilm) แผ่นจานแม่เหล็ก หรือแผ่น CD เป็น ต้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลปริมาณและรูปแบบหลากหลาย ที่ องค์การจึงต้องเก็บรักษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ มิให้เกิดการสูญหาย ความล่าช้าในการใช้งาน การทำลายข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ หรือการโจรกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจได้
2. ระบบการจัดการด้านข่าวสาร (Message Handling System: MHS)
2.1 โทรสาร (Facsimile) หมายถึงกรรมวิธีในการถอดแบบเอกสารหรือรูปภาพโดยทางคลื่นไฟฟ้า, เดิมใช้โทรภาพ; เอกสารซึ่งส่งหรือรับด้วยกรรมวิธีดังกล่าว
2.2 E-mail ย่อมาจาก: Electronic Mail ความหมาย: จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อมูลที่มีการรับและส่ง โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านเครือข่ายของ การสื่อสาร
2.3 Voice mail หมายถึง การส่งข้อความและเสียงในรูปแบบเมลล์เสียง
3.ระบบการประชุมทางไกล (Teleconferencing System: TS)
3.1 การประชุมด้วยภาพและเสียง (Video Conferencing)
3.2 การประชุมด้วยเสียง (Audio Conferencing)
3.3 การประชุมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing)
3.4 โทรทัศน์ภายใน (In-House Television)
3.5 ระบบสื่อสารทางไกล (Telecommuting)
4. ระบบสนับสนุนสำนักงาน (Office Support System: OSS)
4.1 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design: CAD)
4.2 การนำเสนอ (Presentation)
4.3 กระดานข่าวสาร (Bulletin Board)
4.4 โปรแกรมเครือข่ายกลุ่ม (Groupware)
4.5 ระบบการจัดระเบียบงาน (Desktop Organizer)
ประโยชน์ของสำนักงานอัตโนมัติ : OA
1. ประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการจัดเตรียมเอกสารกระดาษ การจัดส่ง การรับ การจัดเก็บและการทำลาย รวมทั้งงบประมาณในการจัดจ้างผู้ดำเนินการในแต่ละขั้นตอน
2. การเพิ่มประสิทธิภาพในสำนักงาน ลดขั้นตอนเวลาในการพิมพ์ผิด การตรวจสอบแก้ไข ปรับปรุง
3. ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น เนื่องจากความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วในการสืบค้น
4. ผู้ปฏิบัติงานมีความภาคภูมิใจในสำนักงาน แ ละหน่วยงานมากขึ้น เนื่องจากมีสำนักงาน เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย รวดเร็วประหยัดเวลาในการทำงาน
5. หน่วยงานและสำนักงานมีภาพลักษณ์ที่ดี สำหรับหน่วยงานภายใน ที่ได้รับการบริการ และการติดต่อสื่อสารที่ถูกต้องรวดเร็วทันสมัย
การประยุกต์ใช้ OA
1. POS (Point – Of – Sale) เป็นจุดขาย มักพบตามร้านค้าปลีก ในระบบ Laser Scanner ช่วยในการอ่านสินค้า ราคา และรายละเอียดสินค้า
2. ATM (Automated Teller Machine) เป็นส่วนที่นิยมใช้ในการฝากถอนและบริการชำระค่าสาธารณูปโภค โดยใช้รหัสผ่านของแต่ละคน
3. DSS (Decision Support System) บางครั้งเรียกว่า EIS (Executive Information System) จะรวบรวมข้อมูลจากแหล่งภายใน และภายนอกบริษัทเข้ามาอยู่ในแฟ้มข้อมูลเพื่อช่วยในกรตัดสินใจ
4. CASE (Computer-Aided Software Engineering) ใช้ในงานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ
5. หุ่นยนต์ (Robots) เป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติสำหรับใช้ในงานซ้ำซ้อน
การบริหาร OA
การวางแผนและจัดองค์การระบบ OA
ก่อนอื่นต้องเข้าใจความสามารถของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเพื่อตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด ที่จะเปลี่ยนแปลงการบบริหารสำนักงานแบบเดิมมาใช้แบบอัตโนมัติ โดยต้องเริ่มจากการศึกษาความเหมาะสม หรือ FS ซึ่งต้องวิเคราะห์ในประเด็นต่าง ๆ เช่น
- ข้อมูลที่บริษัทต้องการ
- ข้อเสนอของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่ตอบสนองความต้องการของบริษัท
- ทัศนคติและความคิดของพนักงานในการปรับปรุงระบบบริหารสำนักงาน
โดยทั่วไป คอมพิวเตอร์จะเหมาะสมถ้าสถานการณ์ของระบบข้อมูลในสำนักงานมีลักษณะ ดังนี้
1. ปริมาณข้อมูลมีมาก มีแฟ้มข้อมูลใหม่เกิดขึ้นมาก และมีปริมาณการใช้สูง
2. มีความต้องการรายงานที่ถูกต้องและการประมวลผลที่รวดเร็ว
3. มีลักษณะงานเป็นกิจวัตร ตามเวลา ซ้ำ ๆ และจำนวนมาก
4. มีความต้องการการบริหารระบบข้อมูลต่อเนื่อง
5. ต้องการลดต้นทุนต่อหน่วยของการประมวลผลข้อมูล
6. ลูกค้าต้องการบริการสะดวกและรวดเร็วขึ้น
7. มีบันทึกหรืองานเอกสารในสำนักงานเป็นจำนวนมาก
ผู้บริหารระดับสูงอาจมีการตรวจตราโดยใช้ใบตรวจสอบรายการ (Checklist) เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการเลือกซื้อ และตัดสินใจ และมักมีความสำคัญกับการประสานสำนักงานเป็นหนึ่งเดียว คือมีระบบเชื่อมโยงทุกด้าน หรือพูดง่าย ๆ คือ เป็น OA ที่แท้จริง
หลังจากวางแผนกำหนดระบบ OA แล้วต้องมีการจัดองค์การเพื่อติดตั้งในสถานที่ให้เหมาะสม ในบริษัทขนาดเล็กที่ใช้เพียง Minicomputer อาจให้ผู้บริหารสำนักงานรับผิดชอบโดยจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก แต่สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ต้องมีหน่วยงานรองรับ โดยเป็นศูนย์สารสนเทศส่วนกลางประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ โปรแกรมเมอร์ และผู้ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะดูแลงานส่วนกลางและรายงานต่อผู้อำนวยการฝ่ายระบบสารสนเทศ หรือผู้บริหารระดับสูงโดยตรง
การ จัดตั้งองค์การเพื่อระบบงาน OA ขึ้น อยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์และเป้าหมายที่กำหนดไว้สำหรับระบบ ซึ่งควรมีการจัดระบบฝึกอบรมและการแนะนำดูแลพนักงานที่ต้องเกี่ยวข้อง กับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดความระมัดระวัง และไม่เกิดผลกระทบเชิงลบ
การดูแลรักษาความปลอดภัย OA
1. ป้องกันสื่อแม่เหล็ก จากการวางหรือเก็บไม่เหมาะสม และต้องป้องกันจากฝุ่น และการแตกหัก
2. จัดทำการสำรองข้อมูล โดยมีแผ่นต้นฉบับ และแผ่นสำเนา
3. จัดตั้งวิธีการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเข้าระบบ โดยไม่ได้รับอนุญาต
4. ให้การดูแลและตรวจวัดระบบรักษาความปลอดภัย
5. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส
6. ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ที่มีเพิ่มขึ้น เป็นปัญหาระดับชาติโดยการแอบเข้าไปในระบบผู้อื่นแล้ว นำข้อมูลมาขาย ผู้บริหารสำนักงานควรป้องกันข้อมูล โดยการสำรองเก็บตลอดจนเพิ่มระบบรักษาความ ปลอดภัยอย่างเข้มงวด
การประเมินค่าของระบบ OA
การประเมินค่าของระบบงานอื่น ๆ เพื่อระบุว่าการจัดทำระบบ OA บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ดีเพียงใดและมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ให้พิจารณาจากคุณค่าของระบบคอมพิวเตอร์ใน OA ที่มีคุณประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. มีการช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผล เพื่อการแก้ปัญหาข้อมูลและปัญหาในการประมวลผลข้อมูล
2. มีการควบคุมการจัดเตรียมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีการชี้แจงและนับแหล่งเอกสารทั้งหมดของข้อมูลอย่างมีประสิทธาภาพ
4. มีกระบวนการมาตรฐานเพื่อส่งคืนเอกสารจากต้นเรื่อง
5. ผลลัพธ์ที่ได้บรรลุเป้าหมายระบบ
6. จัดทำตารางเวลาทำงานมีความสมเหตุสมผลอันจะช่วยสร้างขวัญกำลังใจพนักงาน
7. มีต้นทุนกระบวนการปฏิบัติของข้อมูลลดต่ำลง
8. มีการควบคุมข้อมูลที่เก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเข้มงวดรัดกุม
ในปัจจุบันทุกคนไม่สามารถปฏิเสธการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีได้ เราใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการปฏิบัติงานและภารกิจต่างๆ ไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในและนอกสำนักงาน ทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน โดยหลักการมีแนวคิดเพื่อสนองตอบการแข่งขันที่ไร้ขอบเขต ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดินของข้อมูลในรูปแบบใหม่ซึ่งต้องสะดวก รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการของใช้ผู้ใช้ได้อย่างน่าพึงพอใจ
ความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมีชุดคำสั่งระบบ(Software) สั่งการในการทำงานซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานของระบบสำนักงานอัตโนมัติ
Internal Memory เป็นหน่วยความจำทำหน้าที่รับและเก็บข้อมูล จะแบ่งเป็นห้องเล็กๆมากมายเรียกว่า Storage ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ
ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
1. ตัวเครื่อง (Hardware) ได้แก่อุปกรณ์ต่างๆ
1.1 หน่วยรับข้อมูล ได้แก่ เมาส์ คีย์บอร์ด จอสัมผัส
1.2 หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU
1.3 หน่วยแสดงผล ได้แก่ จอมอนิเตอร์ Printer
2. คำสั่งเครื่อง (Software)
2.1 คำสั่งระบบ (System Software)
- โปรแกรมควบคุมระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการ (OS)
- โปรแกรมสนับสนุนระบบ เช่น บริการอรรถประโยชน์ (Utilities)
- โปรแกรมพัฒนาระบบงาน เช่น โปรแกรมแปลภาษา
2.2 คำสั่งประยุกต์ (Application Software) โปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้งานต่างๆ เช่น ด้านการคำนวณ การประมวลผล การจัดพิมพ์ ฐานข้อมูล กราฟฟิค เป็นต้น
3. คน (People ware) เช่น ผู้ใช้ (User) ผู้เขียนโปรแกรม (Programmer)
ประเภทของคอมพิวเตอร์
1. แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
1.1 ใช้งานทั่วไป เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)
1.2 ใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรมรถยนต์
2. แบ่งตามลักษณะข้อมูล
2.1 Analog ใช้สำหรับข้อมูลหรือเงื่อนไขที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความกดดันอากาศ กระแสไฟฟ้า เป็นต้น
2.2 Digital ใช้จำนวนหรือตัวเลขในการแปลงรหัสสัญญาณแล้วแปลงผลออกมาในรูปตัวเลขและตัวอักษร
2.3 Hybrid เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีของ Analog และ Digital สามารถทำงานได้ทั้งรูปแบบการวัดค่าต่อเนื่ององและการคำนวณประมวลผล
3. แบ่งตามขนาด
3.1 ขนาดใหญ่ ได้แก่ Mainframe
3.2 ขนาดกลาง ได้แก่ Minicomputer Laptop (Notebook)
3.3 ขนาดเล็ก ได้แก่ Microcomputer (PC)
เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วยรูปแบบพื้นฐาน ได้แก่
1. VDT (Video Display Terminal) เป็นที่ซึ่งข้อมูลและโปรแกรมจะถูกป้อนข้อมูลเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์รวมทั้งคีย์บอร์ด อุปกรณ์การป้อนเข้าที่สำคัญ
2. Magnetic Tape มีลักษณะเป็นม้วนเทปแม่เหล็กจะเก็บข้อมูลเป็นจุดแม่เหล็ก ส่งไป Internal Memory ภายในคอมพิวเตอร์
3. Magnetic Disks จะมีที่พักเก็บทั้งสองด้าน ข้อมูลถูกบันทึกในDiskด้วยรูปแบบจุดแถบแม่เหล็ก
4. Scanning เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ใช้อ่านข้อมูลแล้วส่งผ่านเข้าคอมพิวเตอร์
4.1 Bar Code Reader เครื่องScannerจะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ซึ่งบรรจุชื่อสินค้าและราคา นอกจากนี้ยังใช้อ่านแฟ้มในสถานพยาบาลและสำนักงานทนายความด้วย
4.2 OCR (Optical Character Reader/Recognition) จะผ่านวัตถุดิบแล้วแปลงเป็นคำสั่งผ่านเข้าคอมพิวเตอร์ สามารถรับวัตถุดิบได้หลายรูปแบบ เช่น รูปภาพ แบบฟอร์ม อักษรการพิมพ์
5. คำพูด (Speech) เสียงมนุษย์ใช้เป็น Input โดยอาจต้องจำกัดศัพท์ วลีสั้นๆ และความต่อเนื่องของคำ
6. รูปและภาพ (Graphic & Image) โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนรอบจอหรือใช้เขียนหรือใช้สัมผัสในบริเวณกำหนด เช่น เมาส์ ปากกา และจอสัมผัส
เทคโนโลยีส่วนกระบวนการ
1. หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราวทั้งก่อน ระหว่าง และหลังปฏิบัติในกระบวนการถือเป็นการเก็บขั้นแรก (Primary Storage) และเก็บอยู่ในตัวเครื่อง แบ่งเป็น
1.1 Read-Only Memory หรือ ROM เป็นการบันทึกถาวร ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและข้อมูลจะไม่ถูกทำลาย
1.2 Random-Access Memory หรือ RAM เป็นความจำชั่วคราว ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในRAMจะหายไปเพราะเป็นเพียงการทำงานบนที่ว่างในคอมพิวเตอร์
2. หน่วยคำนวณ (Arithmetic-Logic Unit) ใช้ในการคำนวณคณิตศาสตร์และตรรกวิทยา
3. หน่วยควบคุม (Control Unit) มีการควบคุมและสนับสนุนตามโปรแกรมที่กำหนด
เทคโนโลยีส่วนแสดงผล
1. VDT ข้อมูลที่ป้อนเข้ามาจะแสดงบนจอมอนิเตอร์
2. เครื่องพิมพ์ (printers) เป็นการจัดพิมพ์บนกระดาษ (Hard Copy)
2.1 Impact Printers สร้างงานโดยการพิมพ์ผ่านผ้าหมึกลงบนกระดาษลักษณะเช่นเดียวกับการพิมพ์ดีด
2.2 Non Impact Printers เป็นวิธีการเชื่อมของแสงเลเซอร์และเทคนิคการถ่ายเอกสารมีทั้งแบบที่นิยมคือ Laser Printer กับ Inkjet Printer
3. เสียง (Voice/Audio Response) สร้างเสียงสะท้อนจากข้อมูลที่ได้รับมาสู้ระบบการแสดงผลด้วยเสียงเช่นกัน
4. อุปกรณ์อื่น เช่น โมเด็ม ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับสายโทรศัพท์เคลื่อนย้ายข้อมูลผ่านสาย
เทคโนโลยีส่วนการเก็บ
1. Magnetic Tape ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อเก็บข้อมูลเรียงลำดับ
2. Magnetic Disk ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยใช้พื้นที่สะดวกกว่าประกอบด้วย
2.1 Floppy Disk เป็นแผ่น Disketteที่ยืดหยุ่นใช้กับMinicomputerมีต้นทุนต่ำ
2.2 Hard Disk ทำจากอลูมิเนียมที่ทนทาน ข้อมูลเก็บได้ในปริมาณที่มากกว่า และการค้นหาข้อมูลก็รวดเร็วกว่า
3. Optical Disk เป็นสื่อรุ่นใหม่ในการเก็บข้อมูลโดยติดต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านแสงเลเซอร์ ทนทานความร้อนและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ข้อมูลนำมาใช้ได้ดีและเร็วกว่า Magnetic Disk
3.1 Compact Disc Read-Only Memory (CD-ROM)
3.2 Database Management System (DBMS)
เทคโนโลยีส่วนควบคุม
การควบคุมสำคัญต่อระบบคอมฯ คือ การควบคุมทรัพยากร มนุษย์ (Human Control) เกี่ยวกับกฎระเบียบการปฏิบัติงาน และการควบคุมเทคโนโลยี (Technological Control) ซึ่งต้องมีการควบคุมระบบอย่างเหมาะสม โดยใช้สมองของคอมฯเป็นหน่วยควบคุมและต้องปฏิบัติการดังนี้
1. ควรมีคำแนะนำหรือคำสั่งที่เหมาะสม ในหน่วยควบคุม เช่น การตรวจสอบโปรแกรม เป็นต้น
2. ควรมีการควบคุมกันเองภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
3. ควรควบคุมให้มีการแสดงผลอย่างถูกต้องเหมาะสม กับเทคโนโลยี และอุปกรณ์ของการแสดงผลในรูปแบบต่างๆ เช่น การพิมพ์ การ Plotting COM เป็นต้น
สำนักงานอัตโนมัติ Office Automation: OA
ความหมายของสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักงานอัตโนมัติ หรือ OA เป็นกระบวนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) มา ประยุกต์ใช้ในสำนักงาน โดยการรวบรวม นำเครื่องมืออุปกรณ์อัตโนมัติและเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการติดต่อสื่อสารด้านอิเล็กทรอนิกส์ มาประกอบกันทำให้เกิดงานในสำนักงานกลายเป็นอัตโนมัติ
หน้าที่และระบบข้อมูลหลักใน OA
1. ลักษณะ หรือรูปแบบของข้อมูลที่เกิดขึ้นในสำนักงาน คือ ภาพ เสียง ตัวเลข อักษร ข้อมูล และคำพูด
2. แสดงถึงกิจกรรมวงจรข้อมูลพื้นฐาน
3. ระบบหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อกิจกรรมวงจรข้อมูล
4. ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า LAN (Local Area Network) ทำการเชื่อมต่อหน้าที่ของระบบทั้งสี่ระบบ
5. กิจกรรมหลัก และองค์ประกอบของระบบอัตโนมัติ
ระบบสารสนเทศของ OA
1. ระบบการจัดการด้านเอกสาร (Document Management System: DMS)
1.1 การประมวลผลคำ (Word Processing)เป็น โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับช่วยในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น โดยมีจุดเด่นคือสามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดเวลา โปรแกรมสำเร็จรูปประเภทประมวลคำมีหลายโปรแกรม ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เช่น CU-Writer เวิร์ดราชวิถี Word perfect Word Star และไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft word) เป็น ต้น โดยส่วนมากโปรแกรมประเภทนี้จะช่วยสร้างเอกสาร แก้ไข จัดรูปแบบ ขอบเขตของเอกสาร การบันทึกเอกสาร การคัดลอกหรือการย้ายข้อความเป็นบล็อก การค้นหาคำ การแทนที่คำ การตรวจสอบคำผิด และการทำจดหมายเวียน ไมโครซอฟต์เวิร์ด 97 ยังมีความสามารถพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การตรวจคำและไวยากรณ์ การนับคำ และความสามารถในการเรียกข้อความขึ้นมาดูก่อนสั่งพิมพ์
1.2 การประมวลภาพ (Image Processing) เป็นระบบที่มีการประมวลผลโดยอาศัยรูปภาพ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างยิ่ง โดยการอาศัยอุปกรณ์ในการสแกนภาพเข้าไปในคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) ต่อเชื่องกับเครื่อง คอมพิวเตอร์และเครื่องเลเซอร์ จากนั้นเข้าสู่โปรแกรมการสแกนภาพ ซึ่งโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ในการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ หากอุปกรณ์ใดไม่พร้อมโปรแกรมจะแสดงข้อเตือน ภาพที่ถ่ายเข้าไม่สามารถที่จะปรับแต่ง ย่อ ขยาย หรือใส่ข้อความประกอบเข้าไป เช่น โปรแกรม Aldus PageMaker ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ การประมวลภาพ มักนิยมใช้ร่วมกับระบบบริการต่าง ๆ โดยผ่านเครือข่าย เฉพาะที่
1.3 การจัดพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing)สำนักงานในปัจจุบันนิยมใช้มาก เนื่องจากสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องเฉพาะ เดสท์ทอป พับลิชชิ่งเป็นเทคโนโลยีพัฒนามาจากเวิร์ดโปรเซสซิ่ง โดยเป็นการผสมระหว่างซอฟต์แวร์ทางด้านเวิร์ดโปรเซสซิ่ง ที่มีความสลับซับซ้อนกับโปรแกรมด้านกราฟิก สามารถใช่แบบตัวอักษร (Font) ได้ หลายภาพ หลายแบบ การใช้สี ภาพที่ได้จากการสแกนเนอร์รวมทั้งการใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์ ความละเอียดสูง ทำให้เอกสารภาพที่ได้มีความคมชัดเจน ละเอียด โดยทั่วไปหน่วยงานที่นำโปรแกรมเดสท์ทอป พับลิชชิ่งมาใช้กับการทำรายงาน วารสาร แผ่นพับ และเอกสารต่าง ๆ โดยสามารถเพิ่มความเร็วในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคลากรที่ขาดแคลน โปรแกรมประเภทนี้ที่นิยมใช้ได้แก่ PageMaker Corel draw Microsoft Power Point เป็นต้น ในส่วนของฮาร์ดแวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ควรจะมีหน่วยความจำตั้งแต่ 16 เมกกะไบต์ (MB) ขึ้นไป และควรจะมีความละเอียดบนจอภาพตั้งแต่ 800 x 600 จุด ขนาดของจอภาพ (Monitor)ตั้งแต่ 14” ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวโปรแกรมและความละเอียดของภาพ ขนาดของจอภาพ เป็นต้น
1.4 การผลิตเอกสารหลายชุดหรือการทำสำเนา (Reprographics)เป็น กระบวนการทำสำเนาเอกสารต่าง ๆ การทำสำเนารายงานจดหมาย และเอกสารอื่น ๆ เพื่อที่จะสามารถแจกจ่ายเอกสารให้กับผู้เกี่ยวข้อได้รวดเร็ว ในสมัยนี้การพิมพ์สำเนาเอกสาร จำนวนมากนิยมใช้เครื่องระบบสำเนาอัจฉริยะ (Intelligent copier system) โดย เอาเครื่องนี้ต่อเขื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง หรือ ขนาดเล็ก และต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ วิธีการทำเอกสารจะถูกทำขึ้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์ และส่งมายังเครื่องอัดสำเนา ซึ่งเครื่องอัดสำเนาจะพิมพ์สำเนา ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
1.5 การเก็บรักษา (Archival Storage) เป็น การเก็บรักษาข้อมูลในหน่วยความจำสำรอง เช่น เทปแม่เหล็ก ไมโครฟิลม์ (Microfilm) แผ่นจานแม่เหล็ก หรือแผ่น CD เป็น ต้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลปริมาณและรูปแบบหลากหลาย ที่ องค์การจึงต้องเก็บรักษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ มิให้เกิดการสูญหาย ความล่าช้าในการใช้งาน การทำลายข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ หรือการโจรกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจได้
2. ระบบการจัดการด้านข่าวสาร (Message Handling System: MHS)
2.1 โทรสาร (Facsimile) หมายถึงกรรมวิธีในการถอดแบบเอกสารหรือรูปภาพโดยทางคลื่นไฟฟ้า, เดิมใช้โทรภาพ; เอกสารซึ่งส่งหรือรับด้วยกรรมวิธีดังกล่าว
2.2 E-mail ย่อมาจาก: Electronic Mail ความหมาย: จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อมูลที่มีการรับและส่ง โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านเครือข่ายของ การสื่อสาร
2.3 Voice mail หมายถึง การส่งข้อความและเสียงในรูปแบบเมลล์เสียง
3.ระบบการประชุมทางไกล (Teleconferencing System: TS)
3.1 การประชุมด้วยภาพและเสียง (Video Conferencing)
3.2 การประชุมด้วยเสียง (Audio Conferencing)
3.3 การประชุมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing)
3.4 โทรทัศน์ภายใน (In-House Television)
3.5 ระบบสื่อสารทางไกล (Telecommuting)
4. ระบบสนับสนุนสำนักงาน (Office Support System: OSS)
4.1 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design: CAD)
4.2 การนำเสนอ (Presentation)
4.3 กระดานข่าวสาร (Bulletin Board)
4.4 โปรแกรมเครือข่ายกลุ่ม (Groupware)
4.5 ระบบการจัดระเบียบงาน (Desktop Organizer)
ประโยชน์ของสำนักงานอัตโนมัติ : OA
1. ประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการจัดเตรียมเอกสารกระดาษ การจัดส่ง การรับ การจัดเก็บและการทำลาย รวมทั้งงบประมาณในการจัดจ้างผู้ดำเนินการในแต่ละขั้นตอน
2. การเพิ่มประสิทธิภาพในสำนักงาน ลดขั้นตอนเวลาในการพิมพ์ผิด การตรวจสอบแก้ไข ปรับปรุง
3. ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น เนื่องจากความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วในการสืบค้น
4. ผู้ปฏิบัติงานมีความภาคภูมิใจในสำนักงาน แ ละหน่วยงานมากขึ้น เนื่องจากมีสำนักงาน เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย รวดเร็วประหยัดเวลาในการทำงาน
5. หน่วยงานและสำนักงานมีภาพลักษณ์ที่ดี สำหรับหน่วยงานภายใน ที่ได้รับการบริการ และการติดต่อสื่อสารที่ถูกต้องรวดเร็วทันสมัย
การประยุกต์ใช้ OA
1. POS (Point – Of – Sale) เป็นจุดขาย มักพบตามร้านค้าปลีก ในระบบ Laser Scanner ช่วยในการอ่านสินค้า ราคา และรายละเอียดสินค้า
2. ATM (Automated Teller Machine) เป็นส่วนที่นิยมใช้ในการฝากถอนและบริการชำระค่าสาธารณูปโภค โดยใช้รหัสผ่านของแต่ละคน
3. DSS (Decision Support System) บางครั้งเรียกว่า EIS (Executive Information System) จะรวบรวมข้อมูลจากแหล่งภายใน และภายนอกบริษัทเข้ามาอยู่ในแฟ้มข้อมูลเพื่อช่วยในกรตัดสินใจ
4. CASE (Computer-Aided Software Engineering) ใช้ในงานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ
5. หุ่นยนต์ (Robots) เป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติสำหรับใช้ในงานซ้ำซ้อน
การบริหาร OA
การวางแผนและจัดองค์การระบบ OA
ก่อนอื่นต้องเข้าใจความสามารถของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเพื่อตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด ที่จะเปลี่ยนแปลงการบบริหารสำนักงานแบบเดิมมาใช้แบบอัตโนมัติ โดยต้องเริ่มจากการศึกษาความเหมาะสม หรือ FS ซึ่งต้องวิเคราะห์ในประเด็นต่าง ๆ เช่น
- ข้อมูลที่บริษัทต้องการ
- ข้อเสนอของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่ตอบสนองความต้องการของบริษัท
- ทัศนคติและความคิดของพนักงานในการปรับปรุงระบบบริหารสำนักงาน
โดยทั่วไป คอมพิวเตอร์จะเหมาะสมถ้าสถานการณ์ของระบบข้อมูลในสำนักงานมีลักษณะ ดังนี้
1. ปริมาณข้อมูลมีมาก มีแฟ้มข้อมูลใหม่เกิดขึ้นมาก และมีปริมาณการใช้สูง
2. มีความต้องการรายงานที่ถูกต้องและการประมวลผลที่รวดเร็ว
3. มีลักษณะงานเป็นกิจวัตร ตามเวลา ซ้ำ ๆ และจำนวนมาก
4. มีความต้องการการบริหารระบบข้อมูลต่อเนื่อง
5. ต้องการลดต้นทุนต่อหน่วยของการประมวลผลข้อมูล
6. ลูกค้าต้องการบริการสะดวกและรวดเร็วขึ้น
7. มีบันทึกหรืองานเอกสารในสำนักงานเป็นจำนวนมาก
ผู้บริหารระดับสูงอาจมีการตรวจตราโดยใช้ใบตรวจสอบรายการ (Checklist) เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการเลือกซื้อ และตัดสินใจ และมักมีความสำคัญกับการประสานสำนักงานเป็นหนึ่งเดียว คือมีระบบเชื่อมโยงทุกด้าน หรือพูดง่าย ๆ คือ เป็น OA ที่แท้จริง
หลังจากวางแผนกำหนดระบบ OA แล้วต้องมีการจัดองค์การเพื่อติดตั้งในสถานที่ให้เหมาะสม ในบริษัทขนาดเล็กที่ใช้เพียง Minicomputer อาจให้ผู้บริหารสำนักงานรับผิดชอบโดยจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก แต่สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ต้องมีหน่วยงานรองรับ โดยเป็นศูนย์สารสนเทศส่วนกลางประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ โปรแกรมเมอร์ และผู้ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะดูแลงานส่วนกลางและรายงานต่อผู้อำนวยการฝ่ายระบบสารสนเทศ หรือผู้บริหารระดับสูงโดยตรง
การ จัดตั้งองค์การเพื่อระบบงาน OA ขึ้น อยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์และเป้าหมายที่กำหนดไว้สำหรับระบบ ซึ่งควรมีการจัดระบบฝึกอบรมและการแนะนำดูแลพนักงานที่ต้องเกี่ยวข้อง กับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดความระมัดระวัง และไม่เกิดผลกระทบเชิงลบ
การดูแลรักษาความปลอดภัย OA
1. ป้องกันสื่อแม่เหล็ก จากการวางหรือเก็บไม่เหมาะสม และต้องป้องกันจากฝุ่น และการแตกหัก
2. จัดทำการสำรองข้อมูล โดยมีแผ่นต้นฉบับ และแผ่นสำเนา
3. จัดตั้งวิธีการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเข้าระบบ โดยไม่ได้รับอนุญาต
4. ให้การดูแลและตรวจวัดระบบรักษาความปลอดภัย
5. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส
6. ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ที่มีเพิ่มขึ้น เป็นปัญหาระดับชาติโดยการแอบเข้าไปในระบบผู้อื่นแล้ว นำข้อมูลมาขาย ผู้บริหารสำนักงานควรป้องกันข้อมูล โดยการสำรองเก็บตลอดจนเพิ่มระบบรักษาความ ปลอดภัยอย่างเข้มงวด
การประเมินค่าของระบบ OA
การประเมินค่าของระบบงานอื่น ๆ เพื่อระบุว่าการจัดทำระบบ OA บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ดีเพียงใดและมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ให้พิจารณาจากคุณค่าของระบบคอมพิวเตอร์ใน OA ที่มีคุณประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. มีการช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผล เพื่อการแก้ปัญหาข้อมูลและปัญหาในการประมวลผลข้อมูล
2. มีการควบคุมการจัดเตรียมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีการชี้แจงและนับแหล่งเอกสารทั้งหมดของข้อมูลอย่างมีประสิทธาภาพ
4. มีกระบวนการมาตรฐานเพื่อส่งคืนเอกสารจากต้นเรื่อง
5. ผลลัพธ์ที่ได้บรรลุเป้าหมายระบบ
6. จัดทำตารางเวลาทำงานมีความสมเหตุสมผลอันจะช่วยสร้างขวัญกำลังใจพนักงาน
7. มีต้นทุนกระบวนการปฏิบัติของข้อมูลลดต่ำลง
8. มีการควบคุมข้อมูลที่เก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเข้มงวดรัดกุม
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552
การนำเอาเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในสำนักงาน - หน่วยงานของรัฐ
การนำเอาเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในสำนักงาน
ในส่วนหน่วยงานของรัฐ
การนำเอาเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานในส่วนหน่วยงานของรัฐนั้นยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นอยู่ คือ เริ่มจะมีการใช้เวิร์ดโปรเซสซิ่งในงานฝ่ายเลขาและงานธุรการบ้างแล้ว เครื่องพิมพ์ดีดต่างๆ จะมีการเปลี่ยนโครงสร้าง เช่น ซื้อเครื่องพิมพ์ดีดที่มีเวิร์ดโปรเซสซิ่ง สำหรับในสำนักงานของผู้บริหารของส่วนราชการ จะเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำรายงานข้อมูลทางราชการ การเก็บแฟ้มรายงาน การร่างจดหมายโต้ตอบต่างๆ จะหันมาใช้คอมพิวเตอร์แทนเครื่องพิมพ์ดีดกันมากขึ้น แต่อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์บางอย่าง เช่น ระบบโทรศัพท์ทางราชการจะไปได้ช้ากว่าเอกชนมาก เพราะการของบประมาณของทางราชการในด้านนี้กลายเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย
พัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทั้งในภาคเอกชนและรัฐบาล ภาคเอกชนได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเต็มศักยภาพในการแข่งขันกันผลิตสินค้าและบริการเพื่อสร้างคุณค่าและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ขณะที่ภาครัฐยังมิได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมากนักในการสร้างและนำเสนอบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนซึ่งอาจเป็นจุดด้อยของภาครัฐที่ยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ใช้กันในปัจจุบันของหน่วยงานราชการแทบทุกแห่ง ได้แก่ การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์บุคคลมาใช้ในงานพิมพ์เอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด จึงทำให้หน่วยงานหลายแห่งของบประมาณประจำปีเพื่อเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นรุ่นใหม่ขึ้น แล้วนำมาใช้พิมพ์เอกสารทั้งที่เครื่องรุ่นเก่าที่มีศักยภาพเพียงพอหรือสูงกว่าสำหรับการใช้งานเพื่อพิมพ์เอกสาร ในความเป็นจริงแล้ว การใช้ประโยชน์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ยังมีด้านอื่นอีก อาทิ การสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้งานจัดเก็บข้อมูลเรื่องต่างๆ เทคโนโลยีเช่นนี้มีประสิทธิภาพสูงมากในการเก็บข้อมูลของหน่วยงานราชการแทนวิธีการเก็บข้อมูลแบบเก่าหรือแบบที่เป็นเอกสาร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หน่วยงานบางแห่งของรัฐได้สร้างจุดเริ่มต้นด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานประจำวันที่อำนวยความสะดวกทั้งแก่ข้าราชการและประชาชน ซึ่งนับว่าเป็นการจุดประกายไฟฝันในภาครัฐที่ดีเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และการที่จะส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในภาครัฐนั้นสิ่งสำคัญที่ควรเล็งเห็นและควรเตรียมการให้พร้อม ก็คือการสร้างความเข้าใจและวิสัยทัศน์ของผู้นำ และมีเป้าหมายอย่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศในภาครัฐให้เข้มแข็งและมีศักยภาพสูงสุด และที่สำคัญก็คือการเตรียมความพร้อมสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานหรือข้าราชการที่ต้องเข้ามารองรับงานที่กี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสำคัญสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้น ควรเข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็น ความคุ้มค่า และประโยชน์สูงสุด ต้องมองให้ละเอียดถี่ถ้วนด้วยว่าเทคโนโลยีสารสนเทศแต่ละประเภทมีศักยภาพหรือสารมารถทำอะไรได้บ้าง แล้วจึงนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาช่วยให้องค์กรสามารถทำงานในลักษณะใหม่ หรือนำมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ จึงจะเกิดผลของการปรับปรุงในองค์กรอย่างแท้จริง
ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น งานเหล่านี้ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และยังตอบสนองกับการบริหารยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหารจัดการ มีการนำเอามาตรฐานกลางและช่องทางการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบโทรคมนาคม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดต่อใช้ข้อมูลหรือระบบร่วมกันได้ เช่น มาตรฐานการส่งข้อมูลในโครงข่าย เป็นต้น มีกาจัดทำข้อมูลสารสนเทศ (Information) ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ระหว่างหน่วยงาน เช่น ข้อมูลบุคคล ข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลสถานที่ พร้อมทั้งจัดทำระบบความปลอดภัยของข้อมูล เช่น ระบบยืนยันตัวบุคคล มีการจัดทำโปรแกรมประยุกต์กลางของแต่ละระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) เพื่อประมวลผลและใช้ข้อมูลร่วมกัน และสามารถดึงข้อมูลส่วนราชการได้ หรือสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์กลางที่ส่วนราชการหลัก ๆ มีอยู่ไปใช้งานร่วมกันได้ นอกจากนี้ยังมีการบูรณาการระบบและข้อมูลสารสนเทศ (Integration) ระหว่างส่วนราชการต่างๆ เข้าหากัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ e-Citizen Service หรือ One Stop Service ซึ่งเน้นการการปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานเน้นการปฏิบัติงานที่สั้น สะดวกและรวดเร็ว การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย เน้นความทันสมัย ระบบไร้กระดาษและองค์กรเสมือนจริง ซึ่งมีความสำคัญต่อหน่วยงานของภาครัฐในการให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งอาจเป็นการลบจุดด้อยของภาครัฐที่ยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงเมื่อเปรียบเทียบกับระบบงานของเอกชน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)