วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีทางการแพทย์

บทสรุป

เทคโนโลยีทางการแพทย์
เทคโนโลยีทางการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาพยาบาลและเพื่อการป้องกันโรค
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทสำคัญในหลายๆงานไม่เว้นแม้แต่วงการแพทย์ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์ผู้ทำการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาผู้ป่วยรวมถึงการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีทางการแพทย์ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีความสามารถทางการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นที่จะนำมาใช้ประโยชน์อันหลากหลาย เครื่องมือการแพทย์ในปัจจุบันหลายอย่าง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำหรับใช้ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องเหล่านั้น เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และเครื่องปฏิบัติการทดลองต่างๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น

ตัวอย่างโครงการด้านการวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์
ระบบการแพทย์อัจฉริยะ (Intelligent Medical System) คือ เครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งอุปกรณ์ ส่วนประกอบ ส่วนควบหรือชิ้นส่วนของเครื่องใช้ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวมีความสามารถในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น มีความแม่นยำสูง สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานและตอบสนองต่อผู้ใช้ (ทั้งแพทย์หรือผู้ป่วย) ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน รวมทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนระบบการบริหารจัดการและการดูแลของแพทย์ เป็นการสร้างภาพจำลอง 3 มิติ ขึ้นสำหรับการวินิจฉัยและประกอบการรักษเพื่อช่วยวางแผนการรักษาจากเครื่องถ่ายภาพทางรังสีชนิดต่างๆ เช่น CT scan, MRI, SPETหรือ PET

ตัวอย่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในปัจจุบัน
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography or CT. Scan) คือ เครื่องตรวจร่างกายที่เป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบสามมิติที่สามารถถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้ทั่วร่างกาย
M.R.I. (Magnetic Resonance Imagine) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์
โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (Positron Emission Tomography หรือ P.E.T.)
ใช้โพซิตรอนซึ่งมีลักษณะคล้ายอิเล็กตรอน แต่มีประจุไฟฟ้าบวก เป็นต้นกำเนิดพลังงานแทนรังสีเอกซ์ผลที่ได้ก็คล้ายคลึงกันกับที่ได้จากเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
ทรานส์แอกเซียลซิงเกิลโฟตอนอีมิสชันคอมพิวต์โทโมกราฟี (Transsexual Single Photon Emission Computed Tomography หรือS.P.E.C.T.) เครื่องนี้มีกล้องถ่ายแกมมาที่หมุนได้รอบตัวคนไข้ เราให้ไอโซโทปแก่คนไข้ แล้วใช้กล้องถ่ายแกมมาหมุนรอบตัวคนไข้เพื่อวัดรังสีแกมมาที่ผ่านตัวออกมา แล้วนำข้อมูลที่ได้นี้ไปคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์

แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์
ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีของโลกกำลังดำเนินเข้าสู่ยุคดิจิตอลที่ทุกสิ่งถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ข่าวสาร การทำงานและแม้กระทั่งโรงพยาบาล เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมก็จะเป็นเทคโนโลยีหลักของด้านการแพทย์ เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูงผ่านระบบเครือข่ายไร้สายจะกลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ทางการแพทย์ ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บในรูปแบบดิจิตอล ระบบโทรเวชจะมีบทบาทและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะเครื่องมืออำนวยความสะดวกทางการแพทย์ ระบบการแพทย์อัจฉริยะจะถูกพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อรองรับกับโรงพยาบาลดิจิตอลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะระบบ AI (Artificial Intelligence) จะมีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลดิจิตอล โดยเฉพาะระบบรู้จำเสียงพูดและระบบการจำแนกตัวอักษรซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่แพทย์และพยาบาลในการเขียนรายงานการตรวจร่างกายผู้ป่วยลงในเวชระเบียน ระบบการสร้างภาพสามมิติจะถูกพัฒนาให้สมจริงและสามารถเห็นได้แบบเวลาจริง บนจอภาพขนาดเล็ก โดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์แทนการใช้รังสีเอ็กซ์เรย์ เนื่องจากใช้งานได้ง่ายกว่าและไม่ต้องมีการป้องกันรังสีที่เกิดขึ้น เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น