วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
นครเปตรา
นครเปตรา
นครเปตรา (πέτρα) คือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดีมูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเดดซีกับทะเลอัคบาในประเทศจอร์แดน นครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812)
นครเปตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ" (One of the most precious cultural properties of man's cultural heritage) ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นครเปตราได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
ประวัติ
ก่อตั้งและเจริญรุ่งเรือง
ชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เปตราคือพวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเปตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน (Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ คนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง พวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวกนาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น
สาเหตุที่เปตราตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้ง มีแต่หินกับทรายนั้นก็น่าจะเพราะเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรีย นอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้งใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตราอย่างเดียว
เปตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเปตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซีย
เปตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เปตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส (Philodemos) ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั้งคั้ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันจากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากพายนอก
ชาวเปตรานับถือเทพเจ้าสององค์คือ เทพดูซาเรส (Dushares) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพอัลอัซซา (Al Uzza) ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ
การล่มสลาย
ด้วยเหตุที่เกิดเมืองใหม่และเส้นทางค้าขายใหม่ที่ปลอดภัยและสะดวกกว่าในช่วงเวลต่อมา เปตราที่เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าก็เริ่มสูญเสียอำนาจลง เมืองอ่อนแอและถูกต่างชาติโจมตีเข้าได้ง่าย จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 649 (ค.ศ. 106) พวกโรมันนำโดยจักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส(Traianus) ได้เข้ายึดครองเปตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นจังหวัดในจักรวรรดิโรมัน แต่เปตราก็ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวปี ค.ศ. 300 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มคลอนแคลน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 906 (ค.ศ. 363) แผ่นดินไหวก็ได้ทำลายอาคารและระบบชลประทานที่ถือว่าดีมากของเมืองลง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 เปตรากลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนามณฑลของบิชอป แล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อยๆ จนลบเลือนหายไปจากผู้คน
การค้นพบ
ถึงแม้ซากเมืองเปตราจะเป็นสิ่งที่น่าอยากรู้อยากเห็นของผู้คนในช่วงยุคกลาง เช่น มีสุลต่านของอียิปต์ ไบบารส์ (Sultan Baibars) เดินทางเข้าไปเยี่ยมชนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่การค้นพบเปตราที่นำไปสู่การเปิดเผยต่อสายตาชาวโลกเกิดขึ้นอย่างเงียบๆ เมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) เมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท (Johann Ludwig Burckhardt) ซึ่งกำลังเดินทางจากจอร์แดนไปอียิปต์เพื่อไปศึกษาถึงแหล่งที่เป็นต้นกำเนินของแม่น้ำไนล์ บวร์กฮาร์ทได้เห็นด้านหน้าอันใหญ่โตของเปตรา แต่ผู้นำทางท้องถิ่นสั่งห้ามมิให้เขาลงไปทำอะไรที่นั่น บวร์กฮาร์ทจึงแอบบันทึกย่อไว้ขณะที่อูฐเดินผ่าน ถึงแม้จะเป็นเพียงบันทึกเล็กๆ คร่าวๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการที่เปิดเมืองสู่สายตาชาวโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เลออง เดอ ลาบอร์ด (Leon de Laborde) ชาวฝรั่งเศสที่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจเมืองและเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า "Voyage de I' Arabir Petree" แปลว่า "การเดินทางในเปตราแห่งอาหรับ" (ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2373) ซึ่งการเขียนหนังสือครั้งนี้ถือเป็นการนำภาพและความรู้ต่างๆที่ชาวโลกไม่เคยเห็นมาเปิดเผยให้ได้รับรู้
การสำรวจทางโบราณคดีเริ่มขึ้นในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการสำรวจอยู่
มรดกโลก
เปตราได้รับลงทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 9 เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
• เป็นตัวแทนที่แสดงถึงผลงานชิ้นเอกทีได้ถูกจัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันแสนฉลาด
• เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
• เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
การประยุกต์ใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติของกระทรวงคมนาคม
บทสรุป
สรุปคือ กระทรวงคมนาคมได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติ ประกอด้วยคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ระบบจัดการเอกสารได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , การใช้เครื่องโทรสาร, การใช้โทรศัพท์ ตลอดจนการใช้เครื่องถ่ายเอกสารในการทำสำเนาเอกสารหลายชุด ระบบจัดการด้านข่าวสาร การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร ระบบเครือข่ายแลน ตลอดจนระบบอินเตอร์เน็ต อินตราเน็ต (Intranet) เอ็กซตราเน็ต (Extranet) และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารประชาสัมพันธ์ ระบบประชุมทางไกล วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ และสุดท้ายระบบสนับสนุนสำนักงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบระบบ GFMIS ระบบสแกนลายนิ้วมือ ระบบคีย์การ์ด ประตูไฟฟ้า กลอนประตูไฟฟ้า การทำ 5 ส. การบริหารจัดสรรเวลา มาใช้เพื่อเพิ่มการจัดการการทำงานขององค์กร
สรุปคือ กระทรวงคมนาคมได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติ ประกอด้วยคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ระบบจัดการเอกสารได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , การใช้เครื่องโทรสาร, การใช้โทรศัพท์ ตลอดจนการใช้เครื่องถ่ายเอกสารในการทำสำเนาเอกสารหลายชุด ระบบจัดการด้านข่าวสาร การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร ระบบเครือข่ายแลน ตลอดจนระบบอินเตอร์เน็ต อินตราเน็ต (Intranet) เอ็กซตราเน็ต (Extranet) และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารประชาสัมพันธ์ ระบบประชุมทางไกล วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ และสุดท้ายระบบสนับสนุนสำนักงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบระบบ GFMIS ระบบสแกนลายนิ้วมือ ระบบคีย์การ์ด ประตูไฟฟ้า กลอนประตูไฟฟ้า การทำ 5 ส. การบริหารจัดสรรเวลา มาใช้เพื่อเพิ่มการจัดการการทำงานขององค์กร
เทคโนโลยีทางการแพทย์
บทสรุป
เทคโนโลยีทางการแพทย์
เทคโนโลยีทางการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาพยาบาลและเพื่อการป้องกันโรค
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทสำคัญในหลายๆงานไม่เว้นแม้แต่วงการแพทย์ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์ผู้ทำการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาผู้ป่วยรวมถึงการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีทางการแพทย์ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีความสามารถทางการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นที่จะนำมาใช้ประโยชน์อันหลากหลาย เครื่องมือการแพทย์ในปัจจุบันหลายอย่าง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำหรับใช้ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องเหล่านั้น เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และเครื่องปฏิบัติการทดลองต่างๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น
ตัวอย่างโครงการด้านการวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์
ระบบการแพทย์อัจฉริยะ (Intelligent Medical System) คือ เครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งอุปกรณ์ ส่วนประกอบ ส่วนควบหรือชิ้นส่วนของเครื่องใช้ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวมีความสามารถในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น มีความแม่นยำสูง สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานและตอบสนองต่อผู้ใช้ (ทั้งแพทย์หรือผู้ป่วย) ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน รวมทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนระบบการบริหารจัดการและการดูแลของแพทย์ เป็นการสร้างภาพจำลอง 3 มิติ ขึ้นสำหรับการวินิจฉัยและประกอบการรักษเพื่อช่วยวางแผนการรักษาจากเครื่องถ่ายภาพทางรังสีชนิดต่างๆ เช่น CT scan, MRI, SPETหรือ PET
ตัวอย่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในปัจจุบัน
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography or CT. Scan) คือ เครื่องตรวจร่างกายที่เป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบสามมิติที่สามารถถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้ทั่วร่างกาย
M.R.I. (Magnetic Resonance Imagine) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์
โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (Positron Emission Tomography หรือ P.E.T.)
ใช้โพซิตรอนซึ่งมีลักษณะคล้ายอิเล็กตรอน แต่มีประจุไฟฟ้าบวก เป็นต้นกำเนิดพลังงานแทนรังสีเอกซ์ผลที่ได้ก็คล้ายคลึงกันกับที่ได้จากเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
ทรานส์แอกเซียลซิงเกิลโฟตอนอีมิสชันคอมพิวต์โทโมกราฟี (Transsexual Single Photon Emission Computed Tomography หรือS.P.E.C.T.) เครื่องนี้มีกล้องถ่ายแกมมาที่หมุนได้รอบตัวคนไข้ เราให้ไอโซโทปแก่คนไข้ แล้วใช้กล้องถ่ายแกมมาหมุนรอบตัวคนไข้เพื่อวัดรังสีแกมมาที่ผ่านตัวออกมา แล้วนำข้อมูลที่ได้นี้ไปคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์
แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์
ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีของโลกกำลังดำเนินเข้าสู่ยุคดิจิตอลที่ทุกสิ่งถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ข่าวสาร การทำงานและแม้กระทั่งโรงพยาบาล เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมก็จะเป็นเทคโนโลยีหลักของด้านการแพทย์ เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูงผ่านระบบเครือข่ายไร้สายจะกลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ทางการแพทย์ ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บในรูปแบบดิจิตอล ระบบโทรเวชจะมีบทบาทและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะเครื่องมืออำนวยความสะดวกทางการแพทย์ ระบบการแพทย์อัจฉริยะจะถูกพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อรองรับกับโรงพยาบาลดิจิตอลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะระบบ AI (Artificial Intelligence) จะมีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลดิจิตอล โดยเฉพาะระบบรู้จำเสียงพูดและระบบการจำแนกตัวอักษรซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่แพทย์และพยาบาลในการเขียนรายงานการตรวจร่างกายผู้ป่วยลงในเวชระเบียน ระบบการสร้างภาพสามมิติจะถูกพัฒนาให้สมจริงและสามารถเห็นได้แบบเวลาจริง บนจอภาพขนาดเล็ก โดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์แทนการใช้รังสีเอ็กซ์เรย์ เนื่องจากใช้งานได้ง่ายกว่าและไม่ต้องมีการป้องกันรังสีที่เกิดขึ้น เป็นต้น
เทคโนโลยีทางการแพทย์
เทคโนโลยีทางการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาพยาบาลและเพื่อการป้องกันโรค
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทสำคัญในหลายๆงานไม่เว้นแม้แต่วงการแพทย์ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์ผู้ทำการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาผู้ป่วยรวมถึงการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีทางการแพทย์ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีความสามารถทางการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นที่จะนำมาใช้ประโยชน์อันหลากหลาย เครื่องมือการแพทย์ในปัจจุบันหลายอย่าง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำหรับใช้ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องเหล่านั้น เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และเครื่องปฏิบัติการทดลองต่างๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น
ตัวอย่างโครงการด้านการวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์
ระบบการแพทย์อัจฉริยะ (Intelligent Medical System) คือ เครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งอุปกรณ์ ส่วนประกอบ ส่วนควบหรือชิ้นส่วนของเครื่องใช้ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวมีความสามารถในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น มีความแม่นยำสูง สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานและตอบสนองต่อผู้ใช้ (ทั้งแพทย์หรือผู้ป่วย) ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน รวมทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนระบบการบริหารจัดการและการดูแลของแพทย์ เป็นการสร้างภาพจำลอง 3 มิติ ขึ้นสำหรับการวินิจฉัยและประกอบการรักษเพื่อช่วยวางแผนการรักษาจากเครื่องถ่ายภาพทางรังสีชนิดต่างๆ เช่น CT scan, MRI, SPETหรือ PET
ตัวอย่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในปัจจุบัน
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography or CT. Scan) คือ เครื่องตรวจร่างกายที่เป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบสามมิติที่สามารถถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้ทั่วร่างกาย
M.R.I. (Magnetic Resonance Imagine) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์
โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (Positron Emission Tomography หรือ P.E.T.)
ใช้โพซิตรอนซึ่งมีลักษณะคล้ายอิเล็กตรอน แต่มีประจุไฟฟ้าบวก เป็นต้นกำเนิดพลังงานแทนรังสีเอกซ์ผลที่ได้ก็คล้ายคลึงกันกับที่ได้จากเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
ทรานส์แอกเซียลซิงเกิลโฟตอนอีมิสชันคอมพิวต์โทโมกราฟี (Transsexual Single Photon Emission Computed Tomography หรือS.P.E.C.T.) เครื่องนี้มีกล้องถ่ายแกมมาที่หมุนได้รอบตัวคนไข้ เราให้ไอโซโทปแก่คนไข้ แล้วใช้กล้องถ่ายแกมมาหมุนรอบตัวคนไข้เพื่อวัดรังสีแกมมาที่ผ่านตัวออกมา แล้วนำข้อมูลที่ได้นี้ไปคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์
แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์
ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีของโลกกำลังดำเนินเข้าสู่ยุคดิจิตอลที่ทุกสิ่งถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ข่าวสาร การทำงานและแม้กระทั่งโรงพยาบาล เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมก็จะเป็นเทคโนโลยีหลักของด้านการแพทย์ เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูงผ่านระบบเครือข่ายไร้สายจะกลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ทางการแพทย์ ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บในรูปแบบดิจิตอล ระบบโทรเวชจะมีบทบาทและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะเครื่องมืออำนวยความสะดวกทางการแพทย์ ระบบการแพทย์อัจฉริยะจะถูกพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อรองรับกับโรงพยาบาลดิจิตอลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะระบบ AI (Artificial Intelligence) จะมีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลดิจิตอล โดยเฉพาะระบบรู้จำเสียงพูดและระบบการจำแนกตัวอักษรซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่แพทย์และพยาบาลในการเขียนรายงานการตรวจร่างกายผู้ป่วยลงในเวชระเบียน ระบบการสร้างภาพสามมิติจะถูกพัฒนาให้สมจริงและสามารถเห็นได้แบบเวลาจริง บนจอภาพขนาดเล็ก โดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์แทนการใช้รังสีเอ็กซ์เรย์ เนื่องจากใช้งานได้ง่ายกว่าและไม่ต้องมีการป้องกันรังสีที่เกิดขึ้น เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)